简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ทฤษฎี Loss Aversion แสดงให้เห็นถึงแรงขับทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือในเรื่องการลงทุน การเข้าใจและเอาชนะภาวะนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ได้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
แอดเหยี่ยวขอถามนักเทรดทุกคนว่า นักเทรดกำลังเป็นเหมือนทฤษฎี Loss Aversion อยู่หรือเปล่า? กลัวการขาดทุนจนทำให้พอร์ตไม่เติบโต การไม่กล้า Stop Loss อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณพลาดโอกาสในการพัฒนาพอร์ตของคุณ จิตวิทยานี้ชี้ให้เห็นว่าคนเรามักให้ค่าความทุกข์จากการสูญเสียมากกว่าความสุขจากการได้กำไร ในบทความนี้มาลองสำรวจตัวเองกัน!
ทฤษฎี Loss Aversion คืออะไร?ทฤษฎี Loss Aversion เป็นแนวคิดทางจิตวิทยาที่อธิบายว่ามนุษย์ให้ความสำคัญกับความสูญเสียหรือความเจ็บปวดมากกว่าความสุขที่ได้จากสิ่งที่ได้รับ ผลวิจัยเผยว่าการสูญเสียมีผลกระทบทางอารมณ์มากกว่าความสุขจากการได้รับถึงสองเท่า โดย Daniel Kahneman นักจิตวิทยาชาวอเมริกันเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ และ Amos Tversky เพื่อนร่วมวิจัยของเขา ได้ทดสอบและนิยามทฤษฎีนี้ เพื่ออธิบายว่าทำไมมนุษย์ถึงหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจทำให้สูญเสีย แม้การเลี่ยงนี้จะขัดขวางโอกาสในการเติบโตก็ตาม
ตัวอย่าง Loss Aversion ในชีวิตประจำวัน
ความเกี่ยวข้องของ Loss Aversion กับการลงทุนในโลกการลงทุน ความกลัวที่จะสูญเสียทำให้นักลงทุนหลายคนไม่กล้าตัดสินใจ Stop Loss แม้ว่าสถานการณ์จะบ่งชี้ว่าเป็นการตัดสินใจที่สมเหตุสมผล การถือหุ้นต่อด้วยความหวังว่ามูลค่าจะกลับมาเป็นกำไร เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้พอร์ตลงทุนไม่เติบโต เมื่อราคาหุ้นลดลง นักลงทุนมักหลีกเลี่ยงการขายเพราะกลัวความเจ็บปวดจากการสูญเสียที่เกิดขึ้นจริง ผลที่ได้คือนักลงทุนขายหุ้นในจุดที่ขาดทุนหรือทำกำไรน้อยเกินไป
ผลการทดลองที่สะท้อนทฤษฎีนี้ตัวอย่างเช่น การแจกโบรชัวร์การตรวจมะเร็งเต้านมให้ผู้หญิงสองกลุ่ม ซึ่งเนื้อหาในโบรชัวร์กลุ่มหนึ่งเน้นถึงประโยชน์จากการตรวจ อีกกลุ่มหนึ่งเน้นถึงความเสี่ยงหากไม่ตรวจ ผลปรากฏว่ากลุ่มที่ได้รับข้อมูลแบบ “เน้นความสูญเสีย” มีการตื่นตัวและลงมือทำตามมากกว่า แม้ข้อมูลพื้นฐานจะเหมือนกัน แต่การย้ำถึงผลเสียกลับกระตุ้นการตอบสนองได้ดีกว่า
การประยุกต์ใช้ในด้านอื่นๆทฤษฎี Loss Aversion ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ธุรกิจประกันชีวิตเติบโต เพราะความกลัวการสูญเสียทำให้คนยอมจ่ายเบี้ยประกันราคาสูงเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ยังอธิบายพฤติกรรมในความสัมพันธ์ เช่น การที่คู่รักหลายคู่เลือกทนทุกข์ในความสัมพันธ์ที่ไม่มีความสุขเพียงเพราะไม่อยากสูญเสียสิ่งที่เคยลงทุนทั้งเวลาและความรู้สึกไป
สรุปทฤษฎี Loss Aversion แสดงให้เห็นถึงแรงขับทางจิตวิทยาที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ไม่ว่าจะในชีวิตประจำวันหรือในเรื่องการลงทุน การเข้าใจและเอาชนะภาวะนี้จึงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนสามารถวางกลยุทธ์ได้ดีขึ้น และสร้างการเติบโตที่ยั่งยืน
ขอบคุณข้อมูลจาก uhas
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แผ่นดินไหว 7.4 ในเมียนมาอาจกระทบตลาดและโครงสร้างพื้นฐาน นักเทรดควรมี UPS และเน็ตสำรอง ตั้งค่า Stop-Loss / Take-Profit และใช้ แอปแจ้งเตือนภัย หากเกิดเหตุ อยู่ในที่ปลอดภัยก่อนคิดเรื่องเทรด หลังเหตุการณ์ ประเมินตลาด ปรับพอร์ต และเช็กระบบเทรด เพื่อรับมือความผันผวน
การจัดอันดับโบรกเกอร์ยอดนิยมประจำเดือน
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
ตัวตนของ “ซาโตชิ นากาโมโตะ” ผู้สร้าง Bitcoin ยังคงเป็นปริศนาที่โลกคริปโทไม่เคยไขกระจ่าง แม้เวลาจะผ่านไป Benjamin Wallace นักสืบและอดีตนักเขียน Newsweek ได้อุทิศเวลาถึง 15 ปี เพื่อตามหาผู้สร้าง Bitcoin โดยการวิเคราะห์หลักฐานที่ซาโตชิทิ้งไว้ รวมถึงตรวจสอบสมาชิกกลุ่ม Cypherpunks ที่น่าสงสัย เช่น James A. Donald อย่างไรก็ตาม แม้จะพบเบาะแสที่เชื่อมโยงได้มากมาย Donald กลับปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา Wallace ตระหนักในที่สุดว่า Bitcoin ได้เติบโตขึ้นจนอยู่เหนือผู้สร้าง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบารมีของซาโตชิอีกต่อไป โดยซาโตชิอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพทางการเงินในศตวรรษที่ 21 มากกว่าจะเป็นตัวตนของใครคนหนึ่ง
FOREX.com
FXCM
Saxo
ATFX
OANDA
IC Markets Global
FOREX.com
FXCM
Saxo
ATFX
OANDA
IC Markets Global
FOREX.com
FXCM
Saxo
ATFX
OANDA
IC Markets Global
FOREX.com
FXCM
Saxo
ATFX
OANDA
IC Markets Global