简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:แบงก์ชาติอินโดนีเซียหั่นดอกเบี้ย 0.25%
ธนาคารกลางอินโดนีเซีย ลดดอกเบี้ยคาดไม่ถึง 0.25% ชี้มุ่งเน้นสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ ด้านรูเปียห์ อ่อนค่าลงต่ำสุดใน 6 เดือน ตอกย้ำความอ่อนแอของค่าเงิน
วันที่ 15 มกราคม 2568 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอย่างคาดไม่ถึง ซึ่งเป็นการกลับผ่อนคลายนโยบายการเงินอีกครั้ง เพื่อกระตุ้นการเติบโตของประเทศ ซึ่งเป็นเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แม้ว่าตลาดการเงินจะมีความผันผวน ซึ่งทำให้รูเปียห์อ่อนค่าลงอย่างมากก็ตาม
ธนาคารกลางอินโดนีเซียปรับลดอัตราดอกเบี้ย RRR ระยะสั้น 7 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิง ลง 0.25% สู่ระดับ 5.75% ถือเป็นการปรับลดลงเป็นครั้งแรก นับตั้งแต่เดือนก.ย. 2567 และทำให้อัตราดอกเบี้ยอ้างลดลงสู่ระดับต่ำที่สุดในรอบกว่า 1 ปี
นอกจากนี้แล้ว ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากและอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลง 25 จุดพื้นฐาน เลงสู่ระดับ 5.00% และ 6.50% ตามลำดับ
หลังจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ ค่าเงินรูเปียห์ร่วงลงสู่ระดับ 16,335 รูเปียห์ต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 6 เดือน
การตัดสินใจดังกล่าวสวนทางกับการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ทั้งหมด 30 คน ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์ ซึ่งคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอินโดนีเซียจะคงอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากแรงกดดันของค่าเงินรูเปียห์ ท่ามกลางการแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของดอลลาร์สหรัฐที่ ซึ่งนักลงทุนเชื่อว่าธนาคารกลางได้เทขายดอลลาร์สหรัฐมาเป็นเวลาหลายสัปดาห์ เพื่อชะลอการร่วงลงของรูเปียห์
นายเพอร์รี วาร์จิโย ผู้ว่าการธนาคารกลางอินโดนีเซีย กล่าวหลังการประกาศอัตราดอกเบี้ยว่า ตอนนี้เป็นเวลาเหมาะสมในการปรับลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อที่จะสามารถปูทางไปสู่เติบโตที่ดีกว่าได้ และธนาคารกลางจะตรวจสอบเส้นทางในสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไป พร้อมชี้ถึงโอกาสความเป็นไปได้ในการออกมาตรการเพิ่มเติมในการกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายวาร์จิโย ระบุว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ยนั้นขับเคลื่อนโดยการบ่งชี้การเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอกว่าที่คาดไว้ ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 เป็นหลัก พร้อมเสริมว่าแนวโน้มเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำจนถึงปี 2569 ทำให้สามารถผ่อนปรนนโยบายได้ และแม้ว่ายังคงมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับนโยบายการเงินของสหรัฐ แต่ธนาคารกลางก็สามารถปรับปรุงความสามารถในการประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอินโดนีเซียได้
ทั้งนี้ ธนาคารกลางอินโดนีเซียยังได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2568 ลงเหลือ 4.7% ถึง 5.5% จากการประมาณการครั้งก่อนที่ระดับ 4.8% ถึง 5.6% โดยระบุว่า การคาดการณ์ว่าการบริโภคครัวเรือนจะอ่อนตัวลงและการส่งออกจะอ่อนแอลง
ขอบคุณ moneyandbanking
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
แผ่นดินไหวจากรอยเลื่อนสะกายในเมียนมาส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในไตรมาสสอง คาดว่าจีดีพีอาจติดลบจากความไม่แน่นอนของ After Shocks ที่กระทบต่อโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน และภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยราคาคอนโดฯ มีแนวโน้มลดลง ขณะที่ความต้องการบ้านแนวราบเพิ่มขึ้น หากไม่มีมาตรการรับมือที่เหมาะสม อาจส่งผลกระทบระยะยาวต่อเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น
การจัดอันดับโบรกเกอร์ยอดนิยมประจำเดือน
เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจ
ตัวตนของ “ซาโตชิ นากาโมโตะ” ผู้สร้าง Bitcoin ยังคงเป็นปริศนาที่โลกคริปโทไม่เคยไขกระจ่าง แม้เวลาจะผ่านไป Benjamin Wallace นักสืบและอดีตนักเขียน Newsweek ได้อุทิศเวลาถึง 15 ปี เพื่อตามหาผู้สร้าง Bitcoin โดยการวิเคราะห์หลักฐานที่ซาโตชิทิ้งไว้ รวมถึงตรวจสอบสมาชิกกลุ่ม Cypherpunks ที่น่าสงสัย เช่น James A. Donald อย่างไรก็ตาม แม้จะพบเบาะแสที่เชื่อมโยงได้มากมาย Donald กลับปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา Wallace ตระหนักในที่สุดว่า Bitcoin ได้เติบโตขึ้นจนอยู่เหนือผู้สร้าง และไม่จำเป็นต้องพึ่งพาบารมีของซาโตชิอีกต่อไป โดยซาโตชิอาจเป็นเพียงสัญลักษณ์แห่งอิสรภาพทางการเงินในศตวรรษที่ 21 มากกว่าจะเป็นตัวตนของใครคนหนึ่ง