简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ธนาคารโลกฉายภาพคะแนน PISA ไทยยังต่ำเกณฑ์ตามหลังสิงคโปร์ - เวีดยนาม ห่วงครัวเรือนยากจนเผชิญปัญหาเหลื่อมล้ำการศึกษาเพิ่มหลังเรียนออนไลน์ช่วงโควิดเข้าถึงได้แค่ 50% ส่วนการจัดสรรงบฯลงสู่นักเรียนยังต่ำแค่ 1 ใน 3 ของกลุ่ม OECD
ธนาคารโลก ประจำประเทศไทยจัดงานสัมนาในหัวข้อ “Strengthening the Foundation for Education Success in Thailand – PISA 2018” เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.2563 เพื่อเสนอแนะการพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทย
นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าวว่า ดัชนีทุนมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งที่จะบ่งชี้ถึงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งการลงทุนการศึกษาที่มีคุณภาพที่เพียงพอให้กับประชากรอย่างทั่วถึงจะช่วยเพิ่มดัชนีทุนมนุษย์ของประเทศและเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
การวัดคะแนน Programme for International Student Assessment หรือ PISA ในไทยวัดคะแนนเด็กอายุ 15 ปี เรื่องการอ่าน คณิตศาสตร์และทัศนคติ รวมทั้งการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ธนาคารโลกสำรวจ โดยคะแนนล่าสุดปี 2018 คะแนนแต่ละด้านได้แก่ คะแนนด้านการอ่าน ประเทศไทยอยู่ในลำดับ 68 จากทั้งหมด 79 ประเทศ
ส่วนด้านคณิตศาสตร์อยู่ในลำดับที่ 59 และ 56 ในอันดับด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งคะแนนส่วนนี้ไทยยังนำหน้าฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียอยู่ แต่ธนาคารโลกยังเห็นแนวโน้มที่ไทยมีคะแนนตามหลังหลายประเทศ
“ในปี 2010-2020 ประเทศไทยถือเป็นประเทศหนึ่งที่มีการพัฒนาของดัชนีทุนมนุษย์ค่อนข้างดี ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 0.60 ช่วงที่มีโควิด-19 หรือมีวิกฤติต่างๆยิ่งมีความจำเป็นในการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้นเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง”
ทั้งนี้ค่าใช้่จ่ายในการลงทุนการศึกษาจากปฐมวัยถึงมัธยมศึกษาตอนต้นในไทยยังถือว่าน้อย ซึ่งที่จริงแล้วการลงทุนในเรื่องทุนมนุษย์ถือว่าสำคัญมากต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศในอนาคตการจัดสรรงบประมาณเพื่อการศึกษาอย่างถูกที่ และกระจายออกไปให้ไม่มีความเหลื่อมล้ำเป็นเรื่องสำคัญที่ไทยต้องคำนึงถึงมากขึ้นในอนาคตด้วย
นายโรนัลด์ มูทาสะ ผู้นำด้านทรัพยากรมนุษย์ ธนาคารโลก กล่าวว่า ดัชนีทุนมนุษย์ของไทยในปี 2020 ที่ธนาคารโลกมีการปรับปรุงข้อมูลล่าสุดอยู่ที่ 0.60 เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในอาเซียนจะตามหลังสิงคโปร์ และเวียดนาม ซึ่งในปี 2020 ประเทศไทยถือว่ามีความคืบหน้าที่ดีขึ้นจากการเก็บข้อมูลล่าสุดในปี 2018 ที่อยู่ในระดับ 0.58 จากคะแนนเต็ม 1 คะแนน โดยในส่วนนี้หมายความว่าเด็ก 1 คนที่เกิดขึ้นในไทยจะสร้างผลิตภาพได้ 60% เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
อย่างไรก็ตามเมื่อเจาะลึกลงไปพบว่าดัชนีทุนมนุษย์ของประเทศไทยนั้นแม้จะมีความคืบหน้าที่ดีในหลายมิติ แต่ในด้านการศึกษาต้องถือว่าติดลบเมื่อดูจากหลายมุมมองทั้งการศึกษาระดับก่อนปฐมวัย และมาตรฐานการศึกษาในระดับที่สูงกว่า พบว่ายังต้องปรับปรุงและปลดล็อกปัญหาและอุปสรรคในหลายด้าน
ทั้งนี้ในภาคการศึกษาของไทยเมื่อเทียบในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ไทยนำเด็กเข้าสู่ระบบการศึกษาได้มากขึ้น และเพิ่มจำนวนระยะเวลาที่เด็กอยู่ในระบบการศึกษาได้นานขึ้น แต่ปัญหา คือ การศึกษามีความเหลื่อมล้ำมากและมีปัญหาระหว่างจำนวนปีค่าเฉลี่ยที่เด็กอยู่ในการศึกษากับจำนวนระยะเวลาที่เด็กได้เรียนรู้จริงช่องว่าง ส่วนนี้ไทยกว้างกว่าประเทศอื่น ซึ่งรัฐบาลต้องให้ความสนใจแก้ปัญหาส่วนนี้มากขึ้น
ภาวะทางเศรษฐกิจที่กระทบจากโควิด-19 เด็กที่มาจากครอบครัวยากจนได้รับผลกระทบมากขึ้นและส่งผลต่อการศึกษาซึ่งรัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับปัญหาระยะสั้น โดยเฉพาะในครัวเรือนที่มีความเป็นอยู่ที่ยากจนซึ่งจะช่วยลดปัญหาเรื่องการเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่จะยิ่งมีมากขึ้นในอนาคต
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ผอ.องค์การอนามัยโลก ยอมรับ ตอนนี้โลกกำลังจะล้มเหลว ในการรับมือโรคโควิด-19 กำลังระบาดหนัก พร้อมตำหนิกลุ่มประเทศร่ำรวย กักตุนไม่ยอมแบ่งปันวัคซีนให้กลุ่มประเทศยากจน
เกือบหนึ่งปีครึ่งที่โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก หากตั้งคำถามว่าที่ไหนดีที่สุดและแย่ที่สุดในยุคโควิด ปัจจัยเดียวที่จะนิยามคำตอบได้คือ “การใช้ชีวิตเป็นปกติ”
ขณะนี้รัฐบาลมาเลเซียกำลังเจอศึกหลายด้านทั้งการพยายามสกัดกั้นการระบาดของโรคโควิด-19 ,การเร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนในประเทศให้ได้มากที่สุดเพื่อประเมินสถานการณ์และตัดสินใจผ่อนคลายมาตรการควบคุม และการควบคุมหนี้สาธารณะของประเทศไม่ให้เพิ่มมากไปกว่านี้
รอยเตอร์สเผยว่า การแพร่ระบาดของโควิดอย่างต่อเนื่องในโรงงาน ๆ ของไทย ทำให้เกิดความกังวลว่าภาคการส่งออกอาจได้รับผลกระทบอย่างหนัก และอาจบ่อนทำลายเศรษฐกิจในขณะที่กำลังพยายามดิ้นรนเพื่อฟื้นตัวจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
GO MARKETS
STARTRADER
Octa
EC Markets
OANDA
Tickmill
GO MARKETS
STARTRADER
Octa
EC Markets
OANDA
Tickmill
GO MARKETS
STARTRADER
Octa
EC Markets
OANDA
Tickmill
GO MARKETS
STARTRADER
Octa
EC Markets
OANDA
Tickmill