简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา นางสาว ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคธนาคารแห่ง
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ที่ผ่านมา นางสาว ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อ้างถึงความเสี่ยงจากความผันผวนสูงของราคาสกุลเงินดิจิทัล ระบุว่า ทางธปท.ไม่ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขายคริปโต หรือ มีส่วนเกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัลโดยตรง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่เพียงแค่ให้บริการรับฝากเงินจากลูกค้า และ ประชาชนทั่วไป ซึ่งการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนั้นยังคงมีความเสี่ยงอยู่
แม้ว่าคริปโตจะได้รับความนิยม แต่ธปท.ไม่ต้องการให้ธนาคารพาณิชย์ซื้อขายคริปโตอยู่ดี
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกมาแสดงจุดยืนต่อต้านสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างชัดเจน แม้ว่าสินทรัพย์ดิจิทัลจะได้รับการยอมรับจากประชาชน, บริษัท และ ธนาคารต่าง ๆ ภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็ตาม
เมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ซึ่งเป็นธนาคารที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ประกาศว่าทางธนาคารกำลังซื้อหุ้นจำนวนกว่า 51% จากแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอย่าง Bitkub ก่อนหน้านี้เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Zipmex แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนคริปโตอีกรายหนึ่งก็ได้ออกมาระดมทุนกว่า 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นธนาคารรายใหญ่อันดับที่ 5 ของประเทศ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นาย สักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายเศรษฐกิจมหภาคแห่ง ธปท. ได้ออกมาเตือนผู้ประกอบการธุรกิจในด้านต่าง ๆ ถึงการยอมรับสกุลเงินดิจิทัล ซึ่งเขาระบุว่า
“หากสกุลเงินอื่น ๆ เกิดการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพของทางธนาคารกลางในการเข้าไปกำกับดูแลภาคเศรษฐกิจ” นอกจากนี้ นาย สักกะภพ ยังเรียกสกุลเงินดิจิทัลที่ไม่ได้รับการรับรองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ใช้ชำระหนี้ได้อย่างถูกกฎหมายว่า Blank Coin หรือ เงินดิจิทัล ที่ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลัง มีความผันผวนของราคาสูง
ธปท.ยังไม่อยากให้ความร่วมมือกับททท.ในการผลักดันให้เกิดการใช้คริปโต
ทางธนาคารกลางยังได้ออกมาแสดงความกังวลต่อการใช้สกุลเงินดิจิทัลในการชำระค่าสินค้า และ บริการต่าง ๆ ซึ่งคุณชญาวดี ได้แสดงความคิดเห็นของเธอต่อสินทรัพย์ดิจิทัลว่าอาจเป็นอันตรายต่อผู้ค้า และ ผู้บริโภค เนื่องจากสกุลเงินดังกล่าวมีความผันผวนของราคาที่สูง และ เสี่ยงต่อการเกิดโจรกรรมบนโลกไซเบอร์, การรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล และ การฟอกเงิน
“หากสินทรัพย์ดิจิทัลถูกนำมาใช้ชำระค่าสินค้า และ บริการอย่างแพร่หลายแล้วนั้น ก็อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อเสถียรภาพของระบบการชำระเงิน, ความั่นคงทางการเงิน และ การคุ้มครองผู้บริโภคอีกด้วย”
ทางธปท.ได้ออกมาเตือนถึงความเสี่ยงดังกล่าวหลังจากที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ได้ออกมาประกาศสนับสนุนให้เศรษฐีคริปโตเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศ และ ทำให้ไทยกลายเป็นประเทศที่เป็นมิตรต่อคริปโต เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น ซึ่งเป็นที่ชัดเจนว่าธปท.ไม่ต้องการให้ไทยยอมรับการใช้คริปโตมากเกินไป
เศรษฐกิจของประเทศไทยในปัจจุบันมีความจำเป็นอย่างมากที่จะต้องพึ่งพาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ซึ่งในช่วงการระบาดจากโรค COVID-19 ที่ผ่านมาได้สร้างผลกระทบร้ายแรงอย่างมากเลยทีเดียว พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศยังคงมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อยู่ ซึ่งจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวก็มีจำนวนไม่มากเช่นเดียวกัน แม้ว่าทางททท.จะพยายามดึงดูดกลุ่ม Crypto Nomad เข้ามาก็ตาม แต่ทว่าทางธนาคารกลางยังคงไม่ต้องการให้พวกเขาใช้สกุลเงินดิจิทัลอยู่ดี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Octa
FP Markets
Neex
FXTM
OANDA
XM
Octa
FP Markets
Neex
FXTM
OANDA
XM
Octa
FP Markets
Neex
FXTM
OANDA
XM
Octa
FP Markets
Neex
FXTM
OANDA
XM